วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

Sentences (ประโยค) คือ การนำคำตั้งเเต่  2  คำขึ้นไป มาเรียงต่อกันเเล้วได้ใจความสมบูรณ์ ประโยคประกอบด้วยภาคประธาน และภาคแสดง
   Sentences แบ่งออกเป็น  4  ชนิดคือ
1. Simple Sentence (เอกัตถะประโยค)  หมายถึง  ประโยคที่มีกริยาแท้หรือกริยาสำคัญเพียงตัวเดียว (คือจะมีประธานกับกริยา) ส่วนอย่างอื่นจะมีมากหรือน้อยอย่างไรก็ได้
2.  Compound Sentence (อเนกัตถะประโยค)  หมายถึง  ประโยคใหญ่ประกอบขึ้นด้วยประโยคเล็กของ Simple Sentence ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป โดยอาศัย Conjunction (and, or, as, but) เป็นตัวเชื่อม   
3.  Complex Sentence (สังกรประโยค) หมายถึง ประโยคใหญ่ที่ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ใจความสมบูรณ์ ประโยค โดย 2 ประโยคนี้มีความสำคัญไม่เท่ากัน นั่นคือประโยคหลัก Main Clause (มุขยประโยค) ที่มีใจความสมบูรณ์ และประโยครอง Subordinate Clause(อนุประโยค) ที่ต้องอาศัยประโยค Main Clause จึงจะได้
4.  Compound Complex Sentence (อเนกัตถะสังกรประโยค)  หมายถึง ประโยคใหญ่ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมกันอยู่ โดยอีกประโยคใหญ่ท่อนหนึ่งนั้นจะมีประโยคเล็กแทรกซ้อนอยู่ภายใน
แต่ในส่วนนี้จะขออธิบายถึง Simple Sentence (เอกัตถะประโยค)
Simple Sentence (ประโยคความเดียว หรือ เอกัตถประโยค)  คือ ประโยคที่มีความคิดหลักเพียงอย่างเดียวในประโยค นั่นคือ มี subject และ verb อย่างละ 1 กลุ่มความคิด (อาจจะเป็น 1 ตัว หรือเกิน 1 ตัวก็ได้)  นั่นคือบอกว่า ใคร หรืออะไร ทำอะไร ประโยคประเภทนี้สามารถอยู่ได้อย่างอิสระ ไม่จำเป็นต้องอาศัยประโยคประเภทอื่น   อาจจะมีส่วนเติมเต็มประกอบอยู่ในประโยคด้วย

    
ตัวอย่างของประโยคความเดียวในแบบต่างๆ
- The students are happy. = ประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็ม
- Phone bought the clothes. = ประธาน + กริยา + กรรม
- She is reading. = ภาคประธาน + ภาคแสดง
- Linda opens the store. = ภาคประธาน + กริยา + กรรมตรง
- I like his idea. = ภาคประธาน + กริยา + กรรมตรง
- The company is big and famous. = ภาคประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็มขยายประธาน
- The news made company staffs happy. = ภาคประธาน + กริยา + กรรม + ส่วนเติมเต็มขยายกรรม
กล่าวโดยสรุปได้ว่า ประโยคความเดียวจะต้องประกอบด้วย 1 ประธาน 1 กริยา นั่นเอง ในส่วนของกรรม ส่วนเติมเต็ม และส่วนขยายอื่นๆนั้นผู้เขียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละโอกาส